Spark U อีสานม่วนสุข 5+1 มีอะไร?? : โครงการสปาร์คลั่นทุ่ง ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ : ปรีชา การุณ

หมวดหมู่ เรื่องเด่น , โดย : admin , 26 มกราคม 65 / อ่าน : 769


 

Spark U อีสานม่วนสุข 5+1 มีอะไร?? : โครงการสปาร์คลั่นทุ่ง ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ : ปรีชา การุณ
โครงการสปาร์คลั่นทุ่ง ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ บ้านสำราญ บ้านหนองบาก ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด พื้นที่ที่เคยอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิชื่อดังแต่กลับมีการใช้สารเคมีมากมายจนประชาชนที่นี่หลงลืม “ภูมิปัญญาผีตาแฮก” ซึ่งเคยเป็นภูมิปัญญาบรรพชนที่เคยสืบต่อกันมาเพื่อให้ข้าวกล้าอุดมสมบูรณ์ แต่โครงการนี้พาเด็กและเยาวชนพร้อมคนในชุมชน ตามหาฮีตฮอยบรรพชนคนทุ่งกุลาให้ทวงคืน “ภูมิปัญญาผีตาแฮก” ให้กลับมาสู่ชุมชนอีกครั้ง
.
"การร่วมกันทำกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์เพื่อรณรงค์ลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกรรม โดยใช้หนังบักตื้อ กลอนลำ คำผญา สื่อดั้งเดิมในท้องถิ่นมาเป็นช่องทางในการสื่อสาร และผสมผสานระหว่างเรื่องราวความเชื่อในอดีตที่สอดคล้องกับการทำนาอินทรีย์แบบดั้งเดิมอย่าง ‘ผีตาแฮก’ มาเล่าเรื่องราวด้วยการแสดงเพื่อให้คนในชุมชนและเด็กๆ ได้ตระหนักถึงปัญหาของการใช้สารเคมีเพื่อให้ชุมชนนี้มีชื่อเสียงในเรื่อง ‘ทุ่งกุลาปลอดสารเคมี’
.
.

หลายๆ คนอาจจะไม่เคยเจอผีตาแฮก จึงจินตนาการว่าผีตาแฮกคืออะไร โดยเด็กเยาวชนที่นี่ตีความออกมาว่าเป็นตั๊กแตน แมลง กบ เขียดที่อยู่ในท้องไร่ ท้องนา ที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่ก่อนคนเฒ่าคนแก่บอกว่าปลา กบ เขียดก็กินได้ ในความอุดมสมบูรณ์มีหมดเลยไม่ต้องซื้อกิน แต่ตอนนี้มีสารเคมีง มีการใช้ปุ๋ยมากขึ้น กบ เขียด แมลง ที่ทุ่งนาก็หายไปหมด ต้องมาซื้อกิน ซึ่งผีตาแฮกจะเป็นตัวอะไรก็ได้ในท้องนา แต่มันหมายถึงความ “อุดมสมบูรณ์” “ละครที่เราพูดเรื่องผีตาแฮกมันจะทำให้เด็กใช้ตัวละครนี้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเรื่องการใช้สารเคมีในพื้นที่เราต้องการให้คนในพื้นที่เข้าใจในการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเดิมผีตาแฮกยังคงอยู่ เพราะเขาทำเกษตรอินทรีย์ พอมาสมัยใหม่ทำเกษตรที่มีสารเคมีเยอะขึ้นตาแฮกเลยหนีไป เพราะไม่มีใครเชื่อไม่มีใครบูชาไม่เคยมีการเลี้ยงผีตาแฮก พอผีตาแฮกหนีไปไม่มีใครปกปักรักษา ทุ่งนา ในไร่นาก็ไม่มีกุ้งหอยปูปลาคนที่ลงไปในทุ่งนาก็ยัง ป่วยเป็นแผลพุพองนี้คือการที่ไม่มีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคือผีตาแฮกทำให้ต้องกลับมาทำเกษตรอินทรีย์เรื่องเล็กๆ ที่เด็กพูดมันจะทำให้ตัวเด็กเข้าใจ เองและผู้ใหญ่ที่ดูเข้าใจด้วย นี่จึงเป็นเครื่องมือที่โครงการนำมาใช้สื่อสารเพื่อปกป้องอุดมสมบูรณ์ในผืนนาเอาไว้”

.
.
“การทำงาน 3 ปีที่ผ่านมา มีการชวนเด็กเยาวชนลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูล และเรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุนชนทั้ง 3 พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการปนเปื้อนของสารพิษที่เกิดจากการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ได้แก่ ชุมชนบ้านห้วยม่วง อำเภอเมือง ชุมชนบ้านนาหนองบง อำเภอวังสะพุง และชุมชนบ้านอุมุง อำเภอเชียงคาน เพื่อให้เยาวชนนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาสะท้อนผ่านรูปแบบของหนังสั้น ภาพยนตร์และภาพถ่าย นำเสนอมุมมองสะเทือนใจ และมุมมองความทุกข์ของคนในชุมชน ที่ชี้ให้เห็นความสำคัญของบ้านเกิดเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณะเพื่อสื่อสารให้คนไทเลยได้ตระหนักรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยกัน โดยภายหลังการลงเรียนรู้พื้นที่ได้นำเสนอข้อมูลให้คนเมืองเลยได้รับรู้ ณ ถนนคนเดิน ตลาดเลาะเลย เพื่อหวังว่าเสียงเล็กๆ ของพวกเขาจะทะลุถึงหัวใจคนฟังบ้าง”
.
โดย : ครูเซียง ปรีชา การุณ หัวหน้าโครงการสปาร์คลั่นทุ่ง ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ บ้านสำราญ บ้านหนองบาก ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด
.
.
#SparkU
#อีสานม่วนสุข5บวก1
#SparkUอีสานม่วนสุข
#แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
#สสส
#สปาร์คลั่นทุ่ง
#ทุ่งกุลาร้องไห้

 



ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]