ติดตามความก้าวหน้าโครงการอย่าปล่อยให้เด็กอ้วนฯ ปี 5 โรงเรียนดรุณวิทยา (บ้านสวนตาล) เทศบาลเมืองน่าน

หมวดหมู่ รายงานพิเศษ , โดย : admin , 29 กุมภาพันธ์ 67 / อ่าน : 141


ติดตามความก้าวหน้าโครงการอย่าปล่อยให้เด็กอ้วนฯ ปี 5 โรงเรียนดรุณวิทยา (บ้านสวนตาล) เทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน

โครงการอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้) โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ร่วมกับพื้นที่ภาคีเครือข่ายภาคเหนือ ดำเนินกิจกรรมติดตามความก้าวหน้าโครงการฯ ณ ห้องประชุม โรงเรียนดรุณวิทยา (บ้านสวนตาล)

การตรวจเยี่ยมผลการดำเนินกิจกรรมติดตามความก้าวหน้าโครงการฯ ครั้งนี้ นำโดย ดร.ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส., ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส., คณะทำงาน และผู้ประสานงานโครงการฯ ได้รับการต้อนรับจากดร.นวพรรณ อินต๊ะวงศ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนดรุณวิทยา (บ้านสวนตาล) พร้อมคณะครูและนักเรียน

คณะตรวจเยี่ยมได้ชมผลงาน และประเมินผลโครงการอย่าปล่อยเด็กอ้วน ประจำปี 2567 ระยะที่ 1 โดยสัมภาษณ์ คุณครู และนักเรียนแกนนำ ทั้งนี้คณะตรวจเยี่ยมได้ให้คำแนะนำในเรื่องทิศทางการทำงานสนับสนุนของ สสส. และกล่าวให้กำลังใจในการดำเนินงานโครงการฯ

โรงเรียนดรุณวิทยา (บ้านสวนตาล) เทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน ได้เข้าร่วมกับโครงการอย่าปล่อยอ้วน ฯ เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งในปีที่ 5 นี้ มาในธีม "ดรุณวิทยา สุขภาพดี OrigiNAN" ได้ดำเนินการกิจกรรมระยะที่ 1 อาทิ กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนแกนนำผ่านกิจกรรม Active Learning การอ่านฉลากโภชนาการ เพื่อวิเคราะห์คุณค่าอาหารทางโภชนาการ โดยนักเรียนแกนนำยังได้ขยายความรู้ไปสู่การรณรงค์เรื่องโภชนาการสมวัย ทั้งยังมีการเล่นเกมอาหารดีมีประโยชน์ ในชื่อ เกมกระติบข้าวบอกเล่าสุขภาพดี และทางโรงเรียนยังจัดกิจกรรมการอ่านฉลากโภชนาการ สีสัญญาณไฟจราจร ในชื่อกิจกรรม บี๊ดจ้ำปึ๊ด ไฟจราจร, ขี่สามล้อปาน้องผ่อเมืองน่าน และตอผ้าฮื้อปี้น้องนี้ฮักหมดใจ นอกจากนี้มีการบูรณาร่วมกับชุมชนในการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องอาหารพื้นถิ่นน่านในอดีตแก่นักเรียนแกนนำ ฝึกวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ และลงมือปฏิบัติอาหารในคุ้มเจ้าเมือง เช่น แกงสะนัด ฯลฯ ต่อท้ายด้วยกิจกรรมบริหารร่างกาย ในชื่อ “ออกแฮงแป๋งฮักวิถีมะเก่า” บูรณาการการเรียนการสอน ออกแบบสร้างสรรค์สื่อออกกำลังกาย แบบวิถีน่าน ของเล่นมะเก่า เพลงซอสตริงมะเก่าเล่าสุขภาพดี และทางโรงเรียนได้จัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้กับนักเรียนในโรงเรียน เครือข่ายผู้ปกครองและชุมชน

กิจกรรมทั้งหมดนี้ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการใช้สื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลาย มุ่งใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ด้านสุขภาวะ มีการถ่ายทอดให้เกิดแรงบันดาลใจเพื่อการสื่อสารสุขภาวะ ในหัวข้อ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” โดยให้ความสำคัญกับครูผู้สอน เด็กนักเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชน ในการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (participatory learning) และติดอาวุธความรู้ให้เยาวชนมีสุขภาพดีในทุกมิติ ด้วยการผลิตสื่อในประเด็นสุขภาวะและเผยแพร่นวัตกรรมสู่สังคม ตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลด หวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้)

ปีนี้เราขยายผลไปสู่พื้นที่ทั้ง 4 ภูมิภาค ทั่วประเทศ เพื่อบูรณาการจากฐานภูมิพลังวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่วิสาหกิจเพื่อสังคม ภายใต้การดูแลของแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ให้เกิดนิเวศสุขภาวะ นำไปสู่การสร้างจิตสำนึกทัศนคติที่ดี และสร้างพฤติกรรมอย่างยั่งยืนในด้าน 3 อ. ได้แก่เรื่อง อาหาร (รู้จักคุณค่าทางโภชนาการ) การออกกำลังกาย การมีสุขภาวะที่ดีทางอารมณ์ และการรู้เท่าทันสื่อ ผ่านนวัตกรรมสื่อ และกิจกรรมสร้างสรรค์

 

 

 

#อย่าปล่อยให้เด็กอ้วนชวนเด็กไทยสุขภาพดี #สสส #แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ #อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน #ลดหวาน #ลดมัน #ลดเค็ม #เพิ่มผักและผลไม้ #โรงเรียนดรุณวิทยา

ติดตามข่าวสารและกิจกรรมต่าง ๆ ของแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ได้ที่

Official Web : http://artculture4health.com/

Facebook : https://www.facebook.com/artculture4h

Youtube แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมสุขภาพ : http://bit.ly/3YVFSl5

Instagram : https://www.instagram.com/artculture.4health/

Twitter : https://twitter.com/art_culture4h

Tiktok : https://www.tiktok.com/@artculture4health



ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]