แวดวงดนตรี "ลิขสิทธิ์เพลงเบื้งต้น" ตอนที่ 2

หมวดหมู่ , 24 มกราคม 66

ลิขสิทธิ์เพลงเบื้องต้น

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความพูดว่า

ต่อจากวันที่แล้ว (ใครที่ไม่ได้อ่านย้อนไปอ่านกันได้นะ) ปันศิลป์ปันสุข จะมาไขข้อสงสัยในเรื่องลิขสิทธิ์เกี่ยวกับดนตรีกันต่อครับ

ตอนที่ 2 ทำแบบไหนถึงจะผิดลิขสิทธิ์บ้าง และมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้ไม่ผิดลิขสิทธิ์
1. ถาม : เอาเพลงไปเปิด ร้องสดในงานอีเวนต์ เทศกาลดนตรีหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ผิดลิขสิทธิ์ไหม

ตอบ : เมื่อนำงานที่มีลิขสิทธิ์ไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือแพล็ตฟอร์มที่มีรายได้ ไม่ใช่การเปิดฟังส่วนตัว นับว่าผิดกฎหมายลิขสิทธิ์

ถาม : แล้วทำอย่างไรถึงจะถูกต้อง
ตอบ : เจ้าของกิจการ เจ้าของงาน เจ้าของคลิป ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ในสถานประกอบการ วิธีที่ง่ายที่สุดคือจ่ายผ่าน CMO หรือองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์อย่าง MCT ( CMO กับ MCT คืออะไรย้อนกลับไปดูได้ในตอนที่ 1 ได้ )

2. ถาม : เอาเพลงไปทำซ้ำ ดัดแปลง คัฟเวอร์ หรือเอาไปประกอบหนังแค่นิดเดียว สั้น ๆ ผิดไหม

ตอบ : การนำชิ้นงานลิขสิทธิ์ไปใช้ แม้จะเอาไปประกอบแค่นิดเดียว ไม่ว่าจะเป็นร้อง
คัฟเวอร์ ทำคลิปรีแอคชั่น หรือเอาไปดัดแปลงเนื้อ รีมิกซ์ คือผิดทั้งหมด และเมื่อไหร่ก็ตามถ้าสิ่งที่ทำไปนั้นสร้างรายได้ขึ้นมา ถือว่าผู้นำไปใช้ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์

ถาม : แล้วทำอย่างไรถึงจะถูกต้อง

ตอบ : ต้องขออนุญาตกับเจ้าของสิทธิ์โดยตรง โดยส่วนใหญ่จะจ่ายผ่านพับลิชเชอร์หรือค่ายเพลง ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิ์ร่วมของผู้สร้างสรรค์
มาดูคำถามที่คนมักถามบ่อย ๆ เกี่ยวกับลิขสิทธิ์กันบ้างครับ

1.ทำเพลงดังได้ล้านวิว คนคัฟเวอร์เพียบ จะมีสิทธิ์รวยจากลิขสิทธิ์ไหม

ตอบ : มีสิทธิ์แน่นอนหากคุณหาผู้ดูแลสิทธิ์ให้ ซึ่งตัวกลางก็จะเป็นองค์กรเช่น CMO MCT เป็นต้น

2. ทำไมนักร้องดังเมื่อร้องเพลงที่ตัวเองแต่งสมัยอยู่ในค่ายเก่า ถึงเจอตำรวจมาบุกจับหลังเวที ทั้งที่ก็ร้องเพลงของตัวเอง

ตอบ : น้องร้องคนนั้นอาจจะขายสิทธิ์ในเพลงทั้งหมดให้กับค่าย ดังนั้นลิขสิทธิ์เพลงจึงตกเป็นของค่าย ต่อให้เป็นเพลงที่แต่งเอง ร้องเอง ทำเองหมดทุกอย่าง เมื่อออกจากค่ายก็ไม่มีสิทธิ์นำเพลงนั้นไปทำการแสดง

3.เอาเพลงที่ชอบไปใช้รีแอค ไปร้องในคลิป ใส่เครดิตให้เรียบร้อย ไม่ได้ใช้เพื่อการค้า แถมโปรโมตให้ด้วย ผิดลิขสิทธิ์ไหม

ตอบ : ถ้าไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ยังไงก็ผิด ต่อให้เอางานต่าง ๆ มาใช้แค่ไม่กี่วินาทีก็ผิด สิ่งที่ควรทำถ้าจะให้ถูกลิขสิทธิ์ต้อง ขออนุญาตจากเจ้าของสิทธิ์โดยตรงก่อน หรือซื้อลิขสิทธิ์โดยตรงโดยจ่ายผ่าน MCT แถมยังมีองค์กรอย่าง CA ( Content Aggregstor ) เป็นตัวกลางดำเนินการให้ถ้าไม่อยากทำเอง

4.เอาเพลงรักมาร้องในงานแต่งให้คู่บ่าวสาวและแขกในงานฟังโดนลิขสิทธิ์ไหม
ตอบ : งานแต่งงานถือว่าเป็นงานส่วนตัว ไม่ใช่การเอาเพลงไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน จึงมักมีการอนุโลมให้จากเจ้าของลิขสิทธิ์อยู่ แต่ถ้าอัดวีดีโอเก็บไว้แล้วไปเผยแพร่เพื่อเรียกยอดวิว ก็มีโดนลิขสิทธิ์เหมือนกัน

5.เปิด Spotify Playlist ในร้านกาแฟตัวเองผิดไหม ในเมื่อจ่ายพรีเมียมรายเดือนไปแล้ว

ตอบ : จ่ายพรีเมียมรายเดือนแต่ก็ยังไม่ถูกต้องอยู่ดีเพราะเป็นสถานประกอบการไม่ใช่ผู้ฟังทั่วไป วิธีที่ถูกต้องก็คือซื้อสตรีมมิงแบบใช้เพื่อการค้าและจ่ายลิขสิทธิ์เผยแพร่ให้องค์กรจัดเก็บลิขสิทธิ์ด้วย
อันนี้คือตัวอย่างคร่าว ๆ ที่ผมนำมาย่อยให้กับเพื่อน ๆ ของเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ ถ้าใครสนใจอยากทราบรายละเอียดมากกว่านี้ ผมจะแปะลิงค์ข้างล่างไว้ให้นะครับ

ติดตามคอนเทนต์เกี่ยวกับแวดวงดนตรีได้ที่
จีรศักดิ์ จำรัส ( Music Creator )
และ Youtube ปันศิลป์ ปันสุข : https://bit.ly/3tKmMPW
ติดตามข่าวสารและกิจกรรมปันศิลป์ ปันสุข เพิ่มเติมได้ที่





โครงการปันศิลป์ ปันสุข

โดย : แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ที่ตั้งสานักงาน : 
     128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
     128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 
โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]