แวดวงดนตรี "Soundtrack"

หมวดหมู่ , 24 มกราคม 66

Soundtrack

ลองนึกถึงหนังผีหรือหนังสยองขวัญซักหนึ่งเรื่องที่เพื่อน ๆ คิดว่าน่ากลัวที่สุด แล้วลองกลับไปเปิดดูอีกครั้งโดยปิดเสียง ผมยืนยันได้เลยว่าความน่ากลัวของหนังเรื่องนั้นจะลดลงทันที่

สิ่งที่สำคัญไม่แพ้เนื้อเรื่อง โทนภาพ การสร้างตัวละครของฆาตกร ผี หรือปิศาจในเรื่อง Soundtrack และเสียงประกอบในหนังมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะทำให้หนังเรื่องนั้นน่ากลัวขึ้นไปอีก วันนี้ปันศิลป์ ปันสุขจะพาเพื่อน ๆ ไปดูวิวัฒนาการของเพลงประกอบภาพยนตร์สยองขวัญกันว่าจะมีที่มาอย่างไร

อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน และ ข้อความพูดว่า

ตัวอย่างเพลง https://youtu.be/Xd6ddOlbKp8
ตอนที่ 1

แรกเริ่ม
Silent Film Era (1895 - 1936)

นี่คือยุคของภาพยนตร์เงียบ ไม่มีการบันทึกเสียงใด ๆ ไม่มีดนตรี ไม่มีเอฟเฟค ไม่มีแม้แต่บทพูดของตัวละคร การเล่าเรื่องจะใช้ภาพเคลื่อนไหวสลับกับตัวอักษรขึ้นมาบนจอ สลับกับฉากต่าง ๆ เพื่อเล่าเรื่องและสื่อสาร โดยในยุคนี้ดนตรีตะวันตกถูกพัฒนามาอย่างอิ่มตัวและอยู่ในจุดสูงสุด ด้วยเหตุนี้ภาพยนตร์จึงใช้ดนตรีมาเป็นส่วนช่วยในการสร้างบรรยากาศการเล่าเรื่อง มีตั้งแต่นักเปียโน นักออร์แกน หรือแม้แต่วงออร์เคสตาวงใหญ่มาบรรเลงให้ผู้ชมฟังสด ๆ พร้อมดูภาพตามไปด้วย การเล่นดนตรีในนี้มีตั้งแต่การเขียนดนตรีประกอบตามภาพยนตร์ทั้งหมด จนถึงการด้นสด (improvisation) ของนักดนตรีอีกด้วย

อาจเป็นรูปภาพของ 4 คน และ ข้อความพูดว่า
ตัวอย่างเพลงประกอบ Dracula https://youtu.be/ZTbY0BgIRMk

ยุคทองของฮอลลีวูด
The Golden Age of Hollywood (1915 - 1963)

วิวัฒนาการต่าง ๆ เกิดขึ้นในยุคนี้ ทั้งระบบสตูดิโอทำภาพยนตร์, ภาพยนตร์จากขาวดำเป็นสี, ภาพยนตร์แบบมีบทพูด, กำเนิดรางวัลออสการ์ และการริเริ่มทำการ์ตูนแอนิเมชั่น

เพลงประกอบภาพยนตร์ในยุคนี้จะได้รับอิทธิพลของดนตรีในยุคโรแมนติก ที่จะมีความยิ่งใหญ่อลังการสไตล์วงออร์เคสตรา มีความโฉ่งฉ่าง ชัดเจน เน้นเสียงดังตรงจุดสำคัญ ไม่ค่อยปล่อยให้มีช่วงเวลาเงียบ ๆ ยกตัวอย่างเพลงประกอบของ The Horror of Dracula (ปี 1958) จะใช้ Theme ของ Dracula ซึ่งประกอบด้วยโน้ต 3 ตัว เพื่อสะท้อนถึงบุคลิกความน่ากลัวแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ของเขา โดย Theme ดังกล่าว จะบรรเลงทุกครั้งที่เราเห็น Dracula หรือมีตัวละครตัวอื่นพูดถึงเขา

อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน และ ข้อความพูดว่า
ตัวอย่างเพลงและฉาก Jump Scare ตั้งแต่นาทีที่ 1.20 ขึ้นไป
https://youtu.be/5bieIiX5KLQ

Psycho ในปี 1960 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของเพลงประกอบภาพยนตร์
Psycho นั้นกำกับโดย Alfred Hitchcock และดนตรีประกอบโดย Bernard Herrmann เพลงประกอบของภาพยนตร์เรื่องนี้ จะไม่โฉ่งฉ่างแบบเพลงในยุคก่อนแล้ว ดนตรีจะค่อย ๆ บิ้วอารมณ์เข้ามาทำให้คนดูมีความรู้สึกแบบไม่ปลอดภัย เพื่อปูบรรยากาศให้กับ “Jump Scare” ซึ่งก็คือการทำให้คนดูสะดุ้งตกใจตรง Hit point ที่จู่ ๆ ก็มีผีหรือฆาตกรโผล่มานั่นเอง เทคนิค Jump Scare ในเรื่อง Psycho ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งอิทธิพลให้กับภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องอื่นต่อมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันทำตาม จนเดี๋ยวนี้มันกลายเป็นเอกลักษณ์ของหนังสยองขวัญไปแล้ว

อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน, มหาสมุทร และ ข้อความพูดว่า

เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง Jaws ในปี 1975
ผลงานของผู้กำกับอย่าง Steven Spielberg ภาพยนตร์ที่ทำให้หลายต่อหลายคนไม่กล้าลงไปว่ายน้ำในทะเล โดยเพลงประกอบของเรื่องนี้ทำโดย John Williams ซึ่งหลักการง่ายมาก John ใช้โน้ตแค่ 2 ตัวในการสร้าง Theme ของฉลาม โน้ตสองตัวนี้จะขึ้นเมื่อมีฉลามโผล่มา และโน้ตทั้งสองจะเร็วขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อฉลามเข้าใกล้คน สร้างความตื่นเต้นละลุ้นระทึกได้ดีเลยทีเดียว ถ้าใครได้ฟังเพลง Baby Shark จะได้ยินโน้ต 2 ตัวนี้ตอนขึ้นเพลงด้วยนะ

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความ
ตัวอย่างเพลง
https://youtu.be/E4kwwJueNvw

ยังมีให้ติดตามต่อ แล้วมาติดตามต่อตอนที่ 2 ได้ในเพจปันศิลป์ ปันสุข อังคารหน้านะครับ

เครดิต Pongsathorn Posayanonth

ติดตามคอนเทนต์เกี่ยวกับแวดวงดนตรีได้ที่
จีรศักดิ์ จำรัส ( Music Creator )
และ Youtube ปันศิลป์ ปันสุข : https://bit.ly/3tKmMPW
ติดตามข่าวสารและกิจกรรมปันศิลป์ ปันสุข เพิ่มเติมได้ที่





โครงการปันศิลป์ ปันสุข

โดย : แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ที่ตั้งสานักงาน : 
     128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
     128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 
โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]